บทเรียน : นักล่าสัตว์ชาววากินดิก้า

เมื่อกลับบ้านวันนี้ หนูจะได้

  • รู้ว่าไม่มีผู้ใดที่เล็กน้อยหรือต่ำต้อยเกินไปสำหรับข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์
  • มีภาระใจในการนำข่าวประเสริฐไปยังคนที่ไม่เคยมีโอกาสได้ยินเรื่องของพระเยซูคริสต์
  • อธิษฐานเผื่อมิชชันนารี และชาววากินดิก้าในประเทศแทนซาเนีย

ข้อท่องจำ

“ในพวกท่านมีคนใดที่มีแกะร้อยตัว และตัวหนึ่งหายไป จะไม่ละเก้าสิบเก้าตัวนั้นไว้ที่กลางทุ่งหญ้า และไปเที่ยวหาตัวที่หายไปนั้นจนกว่าจะได้พบหรือ” -โรม 10:15

แผนการสอนสำหรับวันนี้

  • ต้อนรับเด็กๆ ร่วมกันอธิษฐานก่อนการเดินทาง
  • แจกหนังสือเดินทางให้เด็กแต่ละคน  (หนังสือเดินทาง)
  • ร้องเพลงสองภาษา (ภาษาไทยและภาษาสวาฮีลี)
  • ฝึกทักทายเป็นภาษาสวาฮีลี
  • เปิดโลก สำรวจประเทศแทนซาเนีย
  • ข้อท่องจำ
  • เล่าเรื่อง “นักล่าสัตว์ชาววากินดิก้า”
  • อธิษฐานเผื่อพี่น้องชาวแทนซาเนีย
  • กิจกรรม
  • แจก “อ่านให้หนูฟังหน่อย” ให้เด็กนำกลับบ้าน

แนะนำวิธีใช้หนังสือเดินทาง

  • แนะนำให้จดบันทึกสิ่งต่างๆ ที่ได้เรียน ได้ฟัง และได้ทดลองทำ โดยรวบรวมข้อมูลต่างๆ แล้วเติมในช่องว่าง
  • ในแต่ละช่วงโดยเฉพาะหัวข้ออธิษฐาน ครูอาจจะต้องเตือนเด็กให้นำหนังสือเดินทางของเขาขึ้นมาจดบันทึกเวลาครูแบ่งปัน
  • เมื่อเด็กทำเส
    ร็จสมบูรณ์แล้ว ท้ายชั่วโมงครูอาจเตรียมสติกเกอร์ติดให้เป็นรางวัลแก่เด็ก เป็นการส่งเสริมให้เด็กรู้จักจดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้มา

ข้อมูลเพิ่มเติม และเว็ปไซด์ที่สามารถนำมาฉายให้เด็กในชั้นเรียนได้เห็นภาพและเข้าใจบทเรียนมากขึ้น

  • หนังสือ Operation World โดย Patrick Johnstone แนะนำประเทศต่างๆ และหัวข้ออธิษฐานเผื่อประเทศนั้นๆ
  • Youtube - “Hadza bushmen:Tanzania East Africa 2000” (ชาววากินดิก้าในบทเรียนมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ ฮัดซาบี หรือ ฮัดซา)

ช่วงเปิดโลก

ประเทศแทนซาเนียตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกากลาง ฝั่งตะวันออก  อยู่ติดกับประเทศเคนย่า อูกานด้า คองโก แซมเบีย ลักษณะประเทศมีเทือกเขาทางตอนเหนือและเป็นทุ่งราบที่อาศัยของฝูงสัตว์ป่าจำนวนมาก หรือที่เรารู้จักกันว่า ทุ่งซาฟารี ในแต่ละปีมีสัตว์กว่า 250,000 ตัวตายระหว่างที่มันอพยพหาแหล่งน้ำในฤดูแล้ง

แทนซาเนียเคยตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษจนถึงปี 1961 ศาสนาใหญ่ๆ ในแทนซาเนียคือ อิสลาม  คริสต์ และการนับถือผี ถึงแม้ว่าแทนซาเนียมีภาษาอังกฤษและภาษาสวาฮิลีเป็นภาษาราชการ คนส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อกับโลกตะวันตก แต่จะใช้ภาษาสวาฮิลีในการติดต่อสื่อสารระหว่างชนแต่ละเผ่าเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในทวีปแอฟริกา แทนซาเนียยังเป็นประเทศที่ยากจน ประชาชนมีความยากลำบากในการดำรงชีวิต อัตราการเสียชีวิตในผู้ใหญ่อายุ 16-60 ปีสูงถึง 50% ส่วนใหญ่เนื่องมาจากโรคเอดส์ ผนวกกับการขาดน้ำสะอาดและสุขอนามัยที่จำเป็นในชุมชน

ชาววากินดิก้าหรือที่รู้จักกันในนาม ชาวฮัดซาบี หรือชาวฮัดซาที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้ในวันนี้ เป็นชนกลุ่มน้อยที่ หลงเหลืออยู่พันกว่าคนเท่านั้น และเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ยังมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ชนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ดำรงชีวิตด้วยการเก็บของป่า (น้ำผึ้ง ผลไม้ รากไม้ และลูกไม้ต่างๆ )และล่าสัตว์เป็นอาหาร (ยีราฟ กวาง ควาย กระต่าย นก ฯลฯ) พวกเขาจะไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง แต่จะอพยพย้ายถิ่นฐานตามเส้นทางการอพยพของฝูงสัตว์ป่าในแต่ละฤดู พวกเขาจะตั้งค่ายเป็นเพิงแบบง่ายๆ อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ เมื่อมีสมาชิกในกลุ่มมากขึ้นก็จะแยกกลุ่มกันออกไป เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการหาอาหาร ชนกลุ่มนี้ชอบสันโดษ ไม่ยุ่งและสุงสิงกับชนกลุ่มอื่น มีภาษาที่เป็นเอกลักษณ์คือ ภาษาพูดของพวกเขาจะมีเสียงคลิกซึ่งเกิดจากกระดกลิ้น

ที่มา : https://th.wikipedia.org

นักล่าสัตว์ชาววากินดิก้า

ภาพที่ 1  เกือบยี่สิบปีหลังจากที่จอยเริ่มงานบันทึกเสียงข่าวประเสริฐครั้งแรกแก่ชาวฮอนดูรัสเป็นภาษาสเปน ในปี 1955 จอยและทีมงานอีกหลายคนได้ส่งแผ่นเสียงข่าวประเสริฐออกไปตามคริสตจักรและกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เป็นจำนวน 1,000,000 แผ่น และเขาได้บันทึกเสียงข่าวประเสริฐเป็นภาษาต่างๆ ทั่วโลกถึง 1,401 ภาษา

หนึ่งพันสี่ร้อยกับอีกหนึ่งภาษา! ทำไมต้องมีเลขหนึ่งห้อยท้ายมาด้วย ก็เพราะว่าเมื่อจอยและเพื่อนของเขากำลังเดินทางบันทึกเสียงในทวีปแอฟริกา แล้วมาหยุดอยู่ที่แทนกันยิกา ประเทศแทนซาเนีย พวกเธอได้บันทึกเสียงครบ 1,400 ภาษาพอดี ในระหว่างนั้นพวกเธอได้ยินเรื่องของชนเผ่าตัวเล็กที่กำลังจะสาบสูญไปจากแผ่นดิน คือชนเผ่าวากินดิก้า พวกเธอได้ยินว่าชนเผ่านี้เหลือน้อยกว่า 2,000 คน หรืออาจจะเหลือเพียง 500 คนก็เป็นได้ ซึ่งพวกเธอตระหนักได้ว่ายิ่งเผ่าขนาดเล็กเท่าไหร่ ก็จะมีโอกาสน้อยมากที่มิชชันนารีหรือผู้รับใช้จะเข้าไปเรียนภาษาของพวกเขา ชนเผ่านี้อาศัยอยู่แถบลุ่มน้ำไยดา มักจะอพยพย้ายที่อยู่อาศัยไปเรื่อยๆ ไม่แน่นอน พวกเขาเป็นนักล่าสัตว์และจะโยกย้ายถิ่นฐานตามฤดูกาล ตามการอพยพถิ่นฐานของสัตว์ป่า พวกเขาอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กๆ เพียง 10-20 คนเท่านั้น และจะอยู่ตามโขดหินและพุ่มไม้ ด้วยเหตุนี้เองทำให้พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่หาตัวยากมาก

ภาพที่ 2  “ในพวกท่านมีคนใดที่มีแกะร้อยตัวและตัวหนึ่งหายไป จะไม่ละเก้าสิบเก้าตัวนั้นไว้ที่กลางทุ่งหญ้า และไปเที่ยวหาตัวที่หายไปนั้นจนกว่าจะได้พบหรือ?” พระเจ้าทำงานในจิตใจของจอย ภาระใจหนักอึ้งนี้ไม่ยอมให้เธอมองข้ามชนเผ่าวากินดิก้าไปได้เลย ถึงแม้พวกเธอจะได้ยินว่าชนเผ่านี้เป็นเพียงชนเผ่าเล็กๆ เป็นคนขี้อาย และรู้ว่าการที่จะติดตามหาพวกเขาและติดต่อสื่อสารกับพวกเขานั้นเป็นสิ่งที่ยากมาก แต่ด้วยเหตุผลที่ยากๆ ทั้งหมดนี้ทำให้เธอยิ่งมั่นใจว่า หากพวกเธอมองข้ามชนเผ่านี้ไป คนเหล่านี้อาจจะไม่มีโอกาสที่จะได้ยินเรื่องของพระเยซูผู้เลี้ยงที่แสนดีอีกเลย เพราะข่าวประเสริฐจะไปไม่ถึงพวกเขาโดยวิธีปกติธรรมดาแน่นอน ไหนๆ พวกเธอก็มายืนบนแผ่นดินแทนซาเนียแล้ว มีเครื่องมือบันทึกเสียงพร้อมที่จะบันทึกเสียงได้ พวกเธอจะไม่ปล่อยให้พลาดโอกาสในการบันทึกเสียงครั้งนี้ไปได้ กลุ่มคนวากินดิก้าอาจจะเป็นชนกลุ่มเล็กๆ ที่โดดเดี่ยว ห่างไกลความเจริญและถูกมองข้ามไป แต่สำหรับพระเจ้าแล้ว ไม่มีชนเผ่าใดเล็กน้อยเกินไปสำหรับการที่พระเยซูยอมสละชีวิตของพระองค์เองเพื่อพวกเขา ชนเผ่านี้จำเป็นจะต้องได้ยินได้ฟังเสียงข่าวประเสริฐ เพราะการประกาศด้วยวิธีปกติจะไปไม่ถึงพวกเขา

ภาพที่ 3  ในที่สุดพวกเธอก็สามารถติดต่อกับเผ่าวากินดิก้าได้โดยความช่วยเหลือของมิชชันนารีท่านหนึ่งที่อยู่แถวลุ่มน้ำไยดา มิชชันนารีท่านนี้ยอมสละเวลาเดินทางไปรับชาววากินดิก้าสามคนด้วยตัวเองเพื่อพาพวกเขามาบันทึกเสียง ชายสามคนผิวดำคล้ำ ขี้อายใส่เสื้อผ้าขาดๆ สะพายสายธนูพร้อมลูกดอกไว้ด้านหลัง พระเจ้าทำงานในจิตใจของชาววากินดิก้าให้ยอมอยู่บันทึกเสียงข่าวประเสริฐและค้างแรมอยู่ถึง 2 วันครึ่ง ทั้งๆ ที่ประสบการณ์การบันทึกเสียงนั้นก็แปลกประหลาดสำหรับพวกเขามาก หลังจากนั้นพวกเขาก็รีบเดินทางล่วงหน้ากลับไปที่ซุ้มของพวกเขา เพื่อไปส่งข่าวว่าจะมีคนผิวขาวเดินทางตามมาพร้อมกับกล่องลึกลับที่สามารถส่งเสียงเป็นภาษา  วากินดิก้าของพวกเขา

ภาพที่ 4  ในคืนวันนั้นเอง จอยและเพื่อนๆ นั่งล้อมรอบกองไฟกับชาววากินดิก้า ภายใต้ท้องฟ้าทุ่งหญ้าซาฟารี พวกเธอเปิดเครื่องบันทึกเสียงให้เสียงดังฟังชัด ชาวป่าตัวเล็กๆ ได้ฟังเสียงหัวหน้าเผ่าของพวกเขาเองเล่าถึงพระเยซูผู้เสด็จมาจากสวรรค์ลงมาตายเพื่อไถ่ความผิดบาปแทนที่พวกเขา และสัญญาที่จะประทานชีวิตนิรันดร์ให้กับทุกคนที่เชื่อวางใจในพระองค์ พวกเธอไม่เข้าใจภาษาของพวกเขา แต่สัมผัสได้ถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่โอบล้อมบรรยากาศตอนนั้น ตื้นเต้นจนต้องกลั้นหายใจ แม้แต่มิชชันนารีท่านนั้นที่ช่วยในเรื่องการเดินทางยังพูดออกมาว่า “ตั้งแต่ผมมาอยู่ในแอฟริกา ยังไม่เคยมีประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่เท่านี้เกิดขึ้นเลย” เขาตื้นเต้นมากจนอาสาตัวเองที่จะเป็นผู้แจกจ่ายและติดตามผลแผ่นเสียงเหล่านี้ให้กับชาววากินดิก้าเมื่อจอยและเพื่อนๆ ต้องเดินทางกลับ

ตั้งแต่นั้นจนในปี 2009 องค์การบันทึกเสียงข่าวประเสริฐมีอายุครบรอบ 70 ปี ได้บันทึกเสียงข่าวประเสริฐเป็นภาษาต่างๆ กว่า 5,000 ภาษาทั่วโลก และมีศูนย์ปฏิบัติการและสำนักงานอยู่กว่า 40 ประเทศ ในประเทศไทยรู้จักกันในนาม “มูลนิธิสื่อภาษาด้วยเสียง” พวกเขาถือว่า ไม่มีกลุ่มคนไหนที่เล็กน้อยเกินไป ไม่มีภาษาใดที่สลับซับซ้อนเกินไป ไม่มีหมู่บ้านใดที่ห่างไกลเกินไปสำหรับข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์เจ้าของเรา

บทเรียนนี้เกี่ยวข้องกับหนูอย่างไร?

ภาพที่ 5  ชาววากินดิก้าเป็นเพียงกลุ่มคนเล็กๆ ที่เกือบจะสูญหายไปจากแผ่นดินแอฟริกา แต่พระเจ้าก็ยังสนใจและเมตตาพวกเขาโดยให้จอยและเพื่อนๆ บันทึกเสียงข่าวประเสริฐเป็นภาษาของพวกเขาเอง หนูรู้ไหมว่าในประเทศไทย เราก็มีชนกลุ่มน้อยที่อยู่อาศัยอยู่ในป่า หาของป่าและล่าสัตว์เป็นอาหารเช่นกัน เช่น คนซาไก(หรือเงาะป่า) ผีตองเหลือง เป็นต้น แต่ละกลุ่มอาศัยอยู่รวมกันเพียง 10-20 คนเท่านั้น หนูคิดว่าพวกเขาเป็นคนกลุ่มเล็กเกินไปที่จะต้องมีคนไปประกาศข่าวประเสริฐกับพวกเขาไหม? หรือพวกเขาอยู่ในป่าลึกเกินไปที่คนจะไปประกาศกับพวกเขาหรือไม่? ไม่แน่นอน พระเจ้าไม่ปรารถนาให้สักคนหนึ่งต้องพินาศไป เหมือนคำอุปมาเรื่องแกะหาย ที่คนเลี้ยงแกะก็ละแกะ 99 ตัวไว้ แล้วออกตามหาแกะเพียงตัวเดียวที่หลงหายไป ครูและหนูก็ควรมีหัวใจเหมือนกับพระเยซูคริสต์เช่นกัน

รูปภาพประกอบ

ข้อกำหนดในการใช้บทเรียนรูปภาพ  เราต้องการให้บทเรียนและรูปภาพประกอบเป็นพระพรสำหรับทุกท่าน ดังนั้นจึงขอความร่วมมือจากท่านที่จะไม่นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หรือใช้ในทางที่เบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์ของเรา

  • ชาววากินดิก้า และชนกลุ่มน้อยเผ่าอื่นๆ ที่จะมีโอกาสได้ยินได้ฟังพระกิตติคุณของพระเจ้า และจะมีโอกาสเข้าใจและรับเอาองค์พระเยซูเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของพวกเขา
  • ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศแทนซาเนีย ส่งผลกระทบถึงความเป็นอยู่ของประชาชนและอิสรภาพในการนับถือศาสนา อธิษฐานเผื่อพี่น้องคริสเตียนที่จะเติบโตและเข้มแข็ง และอดทนต่อการข่มเหงจากชาวมุสลิมหัวรุนแรง
  • อธิษฐานเผื่อมิชชันนารีหลายคนที่เข้าไปรับใช้เป็นครูในโรงเรียนต่างๆ ในแทนซาเนีย ที่พวกเขาจะเป็นแสงสว่างให้กับเด็กๆ ทุกคน และสอนเด็กๆ เหล่านั้นให้เติบโตและมีความเชื่อที่เข้มแข็ง

กิจกรรม

ธงนานาชาติ

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • ภาพของธงชาติ (ถ่ายเอกสารให้เด็กคนละ 1 ชุด)
  • ไม้เสียบลูกชิ้น (ตัดปลายแหลมทิ้ง) หรือ ตะเกียบไม้
  • สีเมจิก หรือ สีไม้
  • กาว

วิธีทำ

  • ตัดธงชาติแต่ละอันและระบายสีตามสีของธงชาติประเทศนั้นๆ ให้ถูกต้องสวยงาม
  • ครูควรเตรียมรูปภาพสีของธงชาติของแต่ละประเทศ ให้มีขนาดพอสมควรกับจำนวนนักเรียนในชั้น เพื่อใช้เป็นตัวอย่างในการลงสีให้กับเด็กๆ
  • ทากาวตามแนวที่กำหนดไว้ แล้วนำไปม้วนติดกับไม้เสียบลูกชิ้น

กิจกรรม

แจมโบ้จูส (Jambo Juice)

น้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมของมะม่วงสุก น้ำส้มและน้ำมะนาว หาทานได้ทั่วไป แทนซาเนียมีผลไม้หลายชนิดคล้ายๆ กับเมืองไทยของเรา เช่น มะม่วง มะละกอ กล้วย ฯลฯ ระหว่างที่เด็กๆ ช่วยกันทำน้ำผลไม้นี้ คุณครูอาจแนะนำคำศัพท์ภาษาซวาฮีลีให้เด็กๆ เรียนรู้เพิ่มเติมได้ เช่น แจมโบ้-สวัสดี, เอ็มเบ-มะม่วง, ชุงวา-ส้ม, มาจิ-น้ำ, บาราฟู-น้ำแข็ง, ชูการิ-น้ำตาล

ส่วนผสมของน้ำมะม่วง-ส้ม

  • น้ำเปล่า 3 ถ้วย
  • น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย
  • เปลือกส้มขูด 1 ช้อนโต๊ะ (ถ้ามี)
  • มะม่วงสุก 2 ถ้วย
  • น้ำส้ม 1 ถ้วย
  • น้ำมะนาว 2 ลูก

วิธีทำ

  • ต้มน้ำเปล่ากับน้ำตาลทรายพร้อมกับเปลือกส้ม พอให้น้ำตาลละลายไม่จำเป็นต้องรอให้เดือด ยกออกจากเตาปล่อยให้เย็น
  • ยีเนื้อมะม่วงให้ละเอียด
  • เติมเนื้อมะม่วง น้ำส้มและน้ำมะนาวลงในน้ำเชื่อมที่เย็นแล้ว ผสมให้เข้ากัน
  • เติมน้ำแข็ง
  • สูตรนี้ทำน้ำผลไม้ได้ประมาณ 2 ลิตร

กิจกรรม

ทำที่บ้าน